การหารูทบริดจ์ (Root Bridge) ของ เกณฑ์วิธีต้นไม้แบบทอดข้าม

เพื่อป้องกันการเกิดลูป (loop) ในเน็ตเวิร์ก (network) อุปกรณ์สวิทช์ (switch) ทั้งหมดในเน็ตเวิร์ก จะต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพื่อกำหนดจุดอ้างอิงเดียวกันในการป้องกันลูป ซึ่งจุดอ้างอิงที่ว่านี้เรียกว่ารูทบริดจ์ (หรือรูทสวิตช์ Root Switch)ในกระบวนการเลือกรูทบริดจ์นี้สวิตช์ทุกตัวจะอาศัยบริดจ์ไอดี ซึ่งเป็นค่าเฉพาะตัวของสวิทช์แต่ละตัวเป็นเงื่อนไขในการเลือก โดยค่าบริดจ์ไอดีมีขนาด 8 ไบต์ (byte) แบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่

  1. บริดจ์ไพเออริตี้ (Bridge Priority) (2 ไบต์) ระบุความสำคัญของสวิตช์นั้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับสวิตช์อื่นๆในเน็ตเวิร์ก โดยมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ถึง 65,535
  2. แมคแอดเดรส (MAC Address) (6 ไบต์) เนื่องจากค่าบริดจ์ไพเออริตี้สามารถที่จะกำหนดเองได้ ทำให้แต่ละบริดจ์มีโอกาสที่จะมีบริดจ์ไพเออริตี้เท่ากัน จึงมีการนำค่าแมคแอดเดรสของสวิตช์ ซึ่งเป็นค่าเฉพาะของแต่ละอุปกรณ์ มาเป็นส่วนหนึ่งของบริดจ์ไอดี เพื่อให้กระบวนการหารูทบริดจ์สามารถทำได้สมบูรณ์

สำหรับในเน็ตเวิร์กใดๆนั้นจะมีรูทบริดจ์ได้เพียงแค่ 1 เดียวเท่านั้น โดยบริดจ์ที่มีค่าบริดจ์ไอดีต่ำที่สุดจะถูกเลือกให้เป็นรูทบริดจ์ ส่วนบริดจ์อื่นๆจะถูกเรียกว่า นอนรูทบริดจ์ (Non Root Bridge)

ใกล้เคียง

เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ เกณฑ์วิธีต้นไม้แบบทอดข้าม เกณฑ์ทหารในประเทศไทย เกณฑ์ทหาร เกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ เกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต เกณฑ์วิธี เกณฑ์วิธีถ่ายโอนแฟ้ม เกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล เกณฑ์วิธีการตั้งค่าแม่ข่ายพลวัต